สุขใจกับเพลงไทยประสานเสียง (3)

เมื่อปี พ.ศ. 2515 เครื่องรับโทรทัศน์ในเมืองไทยส่วนใหญ่ยังเป็นระบบอะนาล็อก 625 เส้นครับ ทุกเครื่องไม่ว่าจะเป็นขาวดำหรือสี ล้วนใช้จอภาพแบบ CRT หรือ Cathode - Ray Tube ที่ต้องมีตู้สี่เหลี่ยมทำด้วยไม้อย่างหนาหุ้มไว้ และยังไม่มีรีโมทคอนโทรล ดังนั้นหากต้องการจะเปิด ปิด เปลี่ยนช่อง ปรับระดับเสียง ฯลฯ ผู้ชมจะต้องลุกขึ้นไปหมุนปุ่มบังคับที่ติดตั้งอยู่ด้านหน้า ข้างๆจอภาพด้วยตัวเองครับ (ยกเว้นเสียแต่ว่ามีผู้อื่นให้ใช้)

สุขใจกับเพลงไทยประสานเสียง (2)

เคยมีผู้ศึกษาค้นคว้าประวัติการบันทึกโน้ตเพลงไทยระบุไว้ครับว่า ลาลูแบร์ หัวหน้าคณะฑูตของฝรั่งเศส ผู้ที่เดินทางมาเจรจาเรื่องการค้าและเผยแพร่ศาสนากับกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ระหว่างที่พำนักอยู่ในกรุงฯนั้น ได้นำเพลงไทยเพลงหนึ่งที่ถูกเทียบเสียงแล้วบันทึกลงเป็นโน้ตสากลกลับไปยังฝรั่งเศสด้วย เพลงนี้ต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ สายสมร  (คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่)

สุขใจกับเพลงไทยประสานเสียง (1)

ผมมีความสนใจและชอบติดตามฟังทั้งเพลงคลาสสิคของฝรั่งและเพลงไทยเดิมของเรา มาตั้งแต่ยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมต้นครับ สมัยนั้นสถานีโทรทัศน์ทุกช่องจะมีรายการประจำที่เป็นการแสดงดนตรีคลาสสิคและดนตรีไทยให้รับชมรับฟังกันอยู่เสมอ

ร.ล.ธนบุรี กับการรบที่เกาะช้าง จากความทรงจำของผู้อยู่ในเหตุการณ์อีกท่านหนึ่ง (2/2)

โดย ม.ต่อศักดิ์ และสหาย    15 ตุลาคม 2563

ในการสนทนากับพันจ่าเอก แก้ว เจริญสุข นั้น เป็นการนั่งคุยกันแบบสบายๆ โดยผมได้นำภาพถ่ายของ ร.ล.ธนบุรี และแผนที่กับภาพถ่ายอื่นๆที่เกี่ยวกับการรบหลายๆภาพ เท่าที่รวบรวมมาได้จากหลายๆแหล่งทั้งของไทยและต่างประเทศในเวลานั้น มาให้ท่านได้ดู เพื่ออำนวยความสะดวกให้ท่านได้ระลึกถึงภาพจากเหตุการณ์ สามารถอธิบายและชี้ตำแหน่งต่างๆในประเด็นที่เราอยากทราบได้กระจ่างขึ้น