จากการที่นวนิยายสุดฮิตของพี่จ่าน้อมภาคล่าสุด มีท่าทีว่าจะถูกนำไปดัดแปลงทำเป็นบทภาพยนตร์ค่อนข้างแน่แล้ว
พี่จ่าฯจึงมอบหมายให้ผม ไปค้นคว้าหาปืนไรเฟิลและลูกซองชั้นนำรุ่นต่างๆ ที่นักนิยมไพรชั้นบรรดาศักดิ์ของสยามในยุคนั้น (เป็นตัวละครที่มีบทบาทสำคัญผู้หนึ่งในภาพยนตร์นี้) น่าจะนำติดตัวกลับมาหลังจากจบการศึกษาในต่างประเทศ และใช้เป็นอาวุธคู่กายในการท่องป่า
เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ก็จะไปนำเสนอให้ท่านผู้สร้างภาพยนตร์พิจารณาเลือก เพื่อเตรียมจัดหาหรือจัดทำหุ่นจำลองไว้ใช้ในการถ่ายทำ ที่คาดว่าจะมีขึ้นในอีกไม่นานนี้
ก็ต้องใช้เวลาพอสมควร กว่าจะคัดเลือกมาจำนวนหนึ่ง และนำเสนอไปครับ
แต่ผลพลอยได้จากภารกิจนี้คือ ได้เรียนรู้เรื่องพัฒนาการของปืนแฝดไรเฟิล ไปจนถึงเรื่องดินปืนกับกระสุนที่ใช้
เริ่มตั้งแต่ยุคดินดำ ที่ต้องใช้กระสุนที่มีหน้าตัดขนาดใหญ่ไว้ก่อน ต่อเนื่องไปถึงยุคที่ดินปืนสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ ทำให้สามารถใช้กระสุนขนาดเล็กลงได้
กระสุนดินดำสำหรับปืนไรเฟิล ขนาดหน้าตัด 4 Bore ความยาว 4 นิ้ว เปรียบเทียบกับกระสุนลูกกรด ขนาด .22 ที่เรารู้จักกันดี (ส่วนภาพบนเเป็นการเปรียบเทียบกับกระสุนขนาด .22 Hornet ชนวนกลาง) |
ต่อด้วยที่มาของปืนลูกเลื่อน อันถือได้ว่าเป็นความพยายามที่จะปิดข้อด้อยของปืนแฝด ในเชิงปริมาณการบรรจุกระสุน จนปืนลูกเลื่อนค่อยๆมีบทบาทมากขึ้น และเกือบจะเข้าแทนที่ปืนแฝดได้อย่างสมบูรณ์ในที่สุด
เรื่องราวโดยย่อทั้งหมด พบได้ในบทความของ David E. Petzal แห่ง Field & Stream ที่ผมขอนำมาเสนอนี้ครับ
ผมอ่านแล้ว ขอสรุปความเพียงสั้นๆครับว่าในบรรดาไรเฟิลสำหรับล่าสัตว์ใหญ่นั้น..
อังกฤษ.. ทำปืนแฝดเก่งที่สุด และออกแบบกระสุนได้ดีที่สุด
เยอรมัน.. ทำปืนลูกเลื่อนเก่งที่สุด
ส่วนอเมริกัน.. เอาทุกอย่างไปหากินต่อ และโม้เรื่องเหล่านี้ได้สนุกที่สุด
มิถุนายน 2559
(เครดิตภาพ : Westley Richards & Company)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น