มาร์แชลต่อศักดิ์ พลัส
ชวนคุยเรื่องงานอดิเรก ของสะสม เรื่องราวในอดีต และสัพเพเหระต่างๆ
นอกเหนือไปจากเรื่องคาวบอยและลูกทุ่งตะวันตกแล้ว ผมได้รวบรวมเรื่องราวอื่นๆ ที่เคยเขียนไว้ในสื่อต่างๆ เช่นเรื่องปืนผาหน้าไม้ และบันทึกการเดินทางเชิงสำรวจ มาไว้ด้วยกันที่นี่ โดยมีความตั้งใจที่จะเขียนเรื่องอื่นๆ เช่นงานอดิเรก ของสะสม ประวัติศาสตร์ และเรื่องราวสัพเพเหระต่างๆ ที่อาจตรงกับรสนิยมหรือประสบการณ์ของท่านผู้อ่าน ที่เคยติดตามบทความของผมมาอย่างต่อเนื่อง เพิ่มเติมขึ้นอีกเรื่อยๆ
หวังว่าจะยังคงเป็นสาระบันเทิง ให้ทุกท่านได้เพลิดเพลินกับการอ่านบทความของผมในแง่มุมอื่นๆอีกต่อไปนะครับ และยินดีน้อมรับคำแนะนำและติชมจากทุกท่านเช่นเคยครับ
มาร์แชลต่อศักดิ์
เมษายน 2563
กระสุนปืนพกแบบใหม่สำหรับกองทัพ.สรอ.
หลังจาก SIG Sauer ส่งปืนพกรุ่น P320 MHS เข้าประกวด และเบียด Glock ในโค้งสุดท้ายกลายเป็นผู้ชนะ ได้รับคัดเลือกจากกองทัพบก สรอ. ให้เป็นปืนพกมาตรฐานไปเรียบร้อยตั้งแต่เมื่อต้นปี บัดนี้ก็ได้เวลาเปิดตัวลูกกระสุนที่จะนำมาใช้กันแล้วครับ
กระสุนใหม่ตามข้อกำหนดในการคัดเลือกของ ทบ.สรอ. นี้มีสองแบบ ได้แก่:
ไรเฟิล FN 30-06 รุ่นหายาก
ได้อ่านบทความเรื่องการฟื้นตัวทางธุรกิจ
ของโรงงานผลิตปืน FN ในเบลเยี่ยม
หลังรอดพ้นจากการถูกทำลายในสงครามโลกครั้งที่สอง พบว่ามีเกร็ดความรู้น่าสนใจหลายอย่างครับ
แฝดลูกซอง Holland & Holland Paradox 16 Bore
บอกว่าน่าจะเก่ามาก แต่เจ้าของนำไปลอกสนิม ทำรมดำใหม่ เปลี่ยนด้ามใหม่มา ทำให้ดูดีขึ้น แต่ก็หมดความขลังไปแยะ ลวดลายที่เคยแกะไว้อย่างงดงามเจือจางลงไปมาก ตรงแก้มยังพอเห็นตัวหนังสือรางๆ อ่านได้ว่า Holland & Holland
แฝดไรเฟิลใช้ดีแค่ไหน
แฝดไรเฟิล ยังคงเป็นปืนในฝันของผมเสมอครับ (เดาว่าน่าจะเป็นของหลายๆท่านแถวนี้ด้วย)
พอดีได้อ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้
ของ David Petzal จากสำนัก Field
& Stream ที่เขียนไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว
เห็นว่าสนุกดีมีข้อคิดและเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจ
(โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากท่านใดคิดจะลงทุนเป็นเจ้าของให้ได้สักคู่หนึ่ง)
เลยขออนุญาตนำมาลงไว้ที่นี่ด้วยนะครับ
การกลับมาของ 10 มม.
พักนี้ ในตลาด สรอ.เห็นปืนพกขนาด 10 มม. ค่อยๆทยอยเปิดตัวกันออกมาหนาตาขึ้นครับ
ทราบว่าในบ้านเราก็มีคนเล่น 10 มม.อยู่บ้างเหมือนกัน แต่คงไม่มากนัก
กระสุนขนาด 10 มม. หรือชื่อเต็มอย่างเป็นทางการว่า 10mm Auto (และมีผู้ตั้งชื่ออย่างเท่ให้ด้วยว่า “เดอะ เซนติเมตร”) เกิดมาจากความคิดริเริ่มของ Jeff Cooper ผู้มีอิทธิพลทางความคิดด้านการใช้อาวุธปืนท่านหนึ่ง ที่มีชื่อเสียงมากจากยุค 70’s ครับ
มหากระสุนดินดำ
จากการที่นวนิยายสุดฮิตของพี่จ่าน้อมภาคล่าสุด มีท่าทีว่าจะถูกนำไปดัดแปลงทำเป็นบทภาพยนตร์ค่อนข้างแน่แล้ว
พี่จ่าฯจึงมอบหมายให้ผม ไปค้นคว้าหาปืนไรเฟิลและลูกซองชั้นนำรุ่นต่างๆ ที่นักนิยมไพรชั้นบรรดาศักดิ์ของสยามในยุคนั้น (เป็นตัวละครที่มีบทบาทสำคัญผู้หนึ่งในภาพยนตร์นี้) น่าจะนำติดตัวกลับมาหลังจากจบการศึกษาในต่างประเทศ และใช้เป็นอาวุธคู่กายในการท่องป่า
อเมริกากับปืน
หนังสือประเภทขุดคุ้ยประวัติศาสตร์และทฤษฎีแก้ มักได้รับความสนใจจากสื่อเสมอครับ
ล่าสุด สื่ออเมริกันกำลังพูดถึงหนังสือออกใหม่เมื่อต้นเดือนนี้ The Gunning of America เขียนโดยนักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยจากมหาวิทยาลัย Yale ชื่อ Pamela Haag
ผู้เขียนได้ขุดค้นข้อมูลประวัติศาสตร์ และเอกสารเก่าของบริษัทผู้ผลิตอาวุธปืน นำมาศึกษาวิเคราะห์แล้วสรุปความเห็นว่า ที่เชื่อกันว่าสหรัฐอเมริกาและประชาชนมีความรักและผูกพันหวงแหนเหนียวแน่นอยู่กับปืนมาตั้งแต่สมัยต่อสู้เพื่อประกาศอิสรภาพ ตามด้วยการสร้างชาติและบุกเบิกพิชิตตะวันตก เปรียบเสมือนมรดกทางวัฒนธรรมสืบต่อกันมานั้น ไม่พบหลักฐานสนับสนุนใดๆว่าเป็นความจริง
สุขใจกับเพลงไทยประสานเสียง (3)
เมื่อปี พ.ศ. 2515 เครื่องรับโทรทัศน์ในเมืองไทยส่วนใหญ่ยังเป็นระบบอะนาล็อก 625 เส้นครับ ทุกเครื่องไม่ว่าจะเป็นขาวดำหรือสี ล้วนใช้จอภาพแบบ CRT หรือ Cathode - Ray Tube ที่ต้องมีตู้สี่เหลี่ยมทำด้วยไม้อย่างหนาหุ้มไว้ และยังไม่มีรีโมทคอนโทรล ดังนั้นหากต้องการจะเปิด ปิด เปลี่ยนช่อง ปรับระดับเสียง ฯลฯ ผู้ชมจะต้องลุกขึ้นไปหมุนปุ่มบังคับที่ติดตั้งอยู่ด้านหน้า ข้างๆจอภาพด้วยตัวเองครับ (ยกเว้นเสียแต่ว่ามีผู้อื่นให้ใช้)
สุขใจกับเพลงไทยประสานเสียง (2)
เคยมีผู้ศึกษาค้นคว้าประวัติการบันทึกโน้ตเพลงไทยระบุไว้ครับว่า ลาลูแบร์ หัวหน้าคณะฑูตของฝรั่งเศส ผู้ที่เดินทางมาเจรจาเรื่องการค้าและเผยแพร่ศาสนากับกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ระหว่างที่พำนักอยู่ในกรุงฯนั้น ได้นำเพลงไทยเพลงหนึ่งที่ถูกเทียบเสียงแล้วบันทึกลงเป็นโน้ตสากลกลับไปยังฝรั่งเศสด้วย เพลงนี้ต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ สายสมร (คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่)